เมนู

เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็
กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวด-
อ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และ
พูดเช่นนั้นเหมือนกัน.

[573] เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ (ทิฏฐิล่วง
แก่นสาร) เป็นผู้เมาด้วยความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตน
เองด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น.


ทิฏฐิ 62 เรียกอติสารทิฏฐิ


[574] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ ความ
ว่า ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร ทิฏฐิ 62
ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งปวงนั้น ล่วงเหตุ ล่วงลักษณะ
ถึงความเป็นของต่ำช้า เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ 62 ประการ จึงเรียกว่า
อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร เดียรถีย์
แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เดียรถีย์เหล่านั้น ล่วง ก้าวล่วง
ล่วงเลยกันและกัน ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ.
คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ความว่า เป็นผู้บริบูรณ์เต็มรอบ ไม่
บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยอติสารทิฏฐิ.

[575] คำว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ
ความว่า เป็นผู้เมา เมาทั่ว เมาขึ้น เมายิ่ง ด้วยความถือตัว เพราะทิฏฐิ
ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว. คำว่า มีความ
ถือตัวเต็มรอบ ความว่า มีความถือตัวเต็มรอบ มีความถือตัวบริบูรณ์
มิได้บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เมาด้วยความถือตัว มีความ
ถือตัวเต็มรอบ.
[576] คำว่า อภิเษกตนเองด้วยใจ ความว่า ย่อมอภิเษกตน
เองด้วยจิตว่า เราเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง ปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อภิเษกตน
เองด้วยใจ.
[577] คำว่า เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น ความ
ว่า ทิฏฐินั้น ของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น คือเป็นทิฏฐิอันเจ้าทิฏฐิ
นั้นสมาทาน ถือ ถือมั่น ยึดมั่น ติดใจ น้อมใจไปแล้วอย่างนั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ เป็นผู้
เมาด้วยความถือตัว มีความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตนเอง
ด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้น บริบูรณ์อย่างนั้น.

[578] ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคล
นั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีก

อย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ใคร ๆ
ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.

[579] คำว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้
ความว่า ถ้าคนอื่นเป็นคนพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย
เพราะคำ เพราะถ้อยคำ คือ เพราะเหตุนินทา ติเตียน ค่อนว่าของคน
อื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้.
[580] คำว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วย
คนอื่นนั้น
ความว่า แม้บุคคลนั้นก็เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม
มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย พร้อม
ด้วยคนอื่นนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทราม
พร้อมด้วยคนอื่นนั้น.
[581] คำว่า อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเอง
ไซร้
ความว่า บุคคลเป็นธีรชน เป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญา มีความรู้
มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
อีกอย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้.
[582] คำว่า ใคร ๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็น
คนพาล
ความว่า ใคร ๆ ในบรรดาสมณพราหมณ์ เป็นคนพาล เลว
ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่มี คือ คนทั้งหมดนั่นแหละ
จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาใหญ่
มีปัญญาอุดม มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ ในบรรดา
สมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสตอบว่า

ก็ถ้าบุคคลเป็นผู้เลวเพราะคำของคนอื่นไซร้ บุคคล
นั้นย่อมเป็นคนมีปัญญาทรามพร้อมด้วยคนอื่นนั้น อีก
อย่างหนึ่ง ถ้าบุคคลเป็นเวทคู เป็นธีรชนเองไซร้ ใคร ๆ
ในบรรดาสมณพราหมณ์ ย่อมไม่เป็นคนพาล.

[583] ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้ ชน
เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้
ไม่บริบูรณ์ พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนั้นโดยทิฏฐิ
มาก เพราะพวกเดียรถีย์นั้นเป็นผู้ยินดียิ่งด้วยความกำหนัด
เพราะทิฏฐิของตน.

[584] คำว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรมอื่นจากธรรมนี้
ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความหมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์

ความว่า ชนเหล่าใด ย่อมสรรเสริญธรรม คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค
อื่นจากธรรมนี้ ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ พลั้ง พลาด คลาด เคลื่อน
ทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางแห่งความผ่องแผ้ว
ทางแห่งความผ่องแผ้วรอบ ชื่อว่าพลาดจากอรหัตผล เป็นผู้ไม่บริบูรณ์
ไม่เต็มเปี่ยม ไม่เต็มรอบ คือ เป็นพวกเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้พลาดทางแห่งความ
หมดจด เป็นผู้ไม่บริบูรณ์.

ทิฏฐิเรียกว่าติตถะ


[585] คำว่า พวกเดียรถีย์ย่อมกล่าวแม้อย่างนี้โดยทิฏฐิมาก
ความว่า ทิฏฐิเรียกว่า ติตถะ เจ้าทิฏฐิเรียกว่า พวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์